หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556



รางวัลซีไรต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
สัญลักษณ์ของรางวัลซีไรต์
รางวัลซีไรต์ (อังกฤษS.E.A. Write) มีชื่อเต็มว่า รางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียน (อังกฤษSoutheast Asian Writers Award) เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2522 เป็นรางวัลประจำปีที่มอบให้แก่กวีและนักเขียนใน 10 ประเทศรัฐสมาชิกแห่งสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน
โดยงานเขียนที่ได้รับรางวัลเป็นผลงานที่ได้รับการยกย่องอย่างกว้างขวาง และมีงานเขียนหลากหลายรูปแบบที่ได้รับรางวัล อย่างเช่น กวีนิพนธ์ เรื่องสั้น นวนิยาย ละครเวที คติชนวิทยา รวมไปถึงงานเขียนด้านสารคดีและงานเขียนทางด้านศาสนา พิธีจะถูกจัดขึ้นในกรุงเทพมหานคร โดยมีพระบรมวงศานุวงศ์ทรงเป็นประธานในพิธี
นับตั้งแต่มีการก่อตั้งรางวัลซีไรต์ขึ้น สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงประกอบด้วยรัฐสมาชิกเพียง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย ต่อมา ในปี พ.ศ. 2527 บรูไนได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เวียดนามเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2538 ลาวและพม่าเข้าร่วมในปี พ.ศ. 2540 และกัมพูชาเข้าร่วมหลังสุดในปี พ.ศ. 2542

รายนามนักประพันธ์ที่ได้รับรางวัลซีไรต์[แก้]


ปีบรูไน บรูไนประเทศกัมพูชา กัมพูชาอินโดนีเซีย อินโดนีเซียลาว ลาวมาเลเซีย มาเลเซียประเทศพม่า พม่าฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์สิงคโปร์ สิงคโปร์ไทย ไทยเวียดนาม เวียดนาม
พ.ศ. 2522สุทาดจี คาลซูม บาซรีเอ ซามัด ซาอิดโจลิโค คัวตราเอ็ดวิน นาตาซัน ธัมบูคำพูน บุญทวี
พ.ศ. 2523ปูตู วิจายายาฮารุดดิน ไซนาลนิค ฮัวควินมาซูรี บิน ซาลิกันเนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์
พ.ศ. 2524โกว์นาวา โมฮาหมัดอับดุลลาห์ ฮัซเซนเกรโกริโอ บริลแลนเตสวอง เม็ง วุนอัศศิริ ธรรมโชติ
พ.ศ. 2525มาริแอน คาทอพโพอุสแมน อาวังเอเดรียน อี คริสโตบอลเอ็ม บาลากริชนันชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2526วาย. บี. มังกุนวิชายาอาคิบา อามินเอดิแบร์โต เทียมโปอาร์เธอร์ ยัปคมทวน คันธนู(ประสาทพร ภูสุศิลป์ธร)
พ.ศ. 2527บูดิ คาร์มะลาติฟ โมฮิดินเวอร์จิเนีย มอริโนว่อง ยุน หว่าวาณิช จรุงกิจอนันต์
พ.ศ. 2528อับดุล ฮาดิ้รินา วาตีคาเรโด เดเมทิลโลสเมล บิน ฮาจิกฤษณา อโศกสิน(สุกัญญา ชลศึกษ์)
พ.ศ. 2529มุสลิม บุรมัตซาปาร์ดี ดโจโก ดาโมโนเคมาลาโฮเซ ซิซันปารานันอังคาร กัลยาณพงศ์
พ.ศ. 2530ทัจญี ยะห์ยา บิน ทัจญี อิบราฮิมดร. อุมาร์ คัยยามนูร์ดิน ฮัสซันเบียงเวนิโด เอ็น ซานโตสดร. ลี ซู เพ็งไพฑูรย์ ธัญญา(ธัญญา สังขพันธานนท์)
พ.ศ. 2531ฮาจิ ลีมัน บิน อาหมัดดานาร์โตอาซิซิ ฮาจิ อับดุลลาห์เวอร์จิลิโอ เอศ อัลมาริโอลิวไป่อัน หรือ จัวบุนเทียนนิคม รายยวา(นิคม กอบวงศ์)
พ.ศ. 2532ฮาจิ บิน ฮาจิ โมฮัมหมัด ซาอิดเกอร์สัน ปอยส์สิติ ไซมอน อิสไมล์ลีนา เอสปินา มัวร์สุรัตมาน มาร์กาซานจิระนันท์ พิตรปรีชา
พ.ศ. 2533โมหะมัด ซาเลห์ บิน อับดุล ลาติฟอาริฟิน ซี โนเออร์ส. โอธมาน เกลันตันคาร์แมน แกร์โร นักปิลรามา กันนาพิรันอัญชัน(อัญชลี วิวัธนชัย)
พ.ศ. 2534ฮาจิ มูฮัมหมัด ซาอีนสุบาจิโอ ซัสโตรวาร์โดโยจิฮาติ อาบาดิอิซากานิ อาร์ ครูซโกปาล บาราธัมมาลา คำจันทร์(เจริญ มาลาโรจน์)
พ.ศ. 2535Awang Haji Abdul Rahmanอาลี อัคบาร์ เนวิสอิสเมล อับบาสอัลเฟรด เอ ยูซอนเฉิง เหวง ยัดศักดิ์สิริ มีสมสืบ(กิตติศักดิ์ มีสมสืบ)
พ.ศ. 2536เปนกิรัน ฮาจี โมฮัมหมัด ยูซุพรามาดัน เค เอชกามารัซซามัน อับดุล กาดีร์ลินดา ตี-แคสเปอร์มูฮัมหมัด อารีฟ อาห์หมัดศิลา โคมฉาย(วินัย บุญช่วย)
พ.ศ. 2537ยัง มุเลีย อาวัง ฮัจญี มอรซิดี บิน ฮัจญี มัรสัลเตาฟิก อิสมาอิลเอ วาฮับ อลีบูนาเวนจูรา เอส เมดินา จูเนียร์นา โควินทสามีชาติ กอบจิตติ
พ.ศ. 2538เพนกิรัน ฮาจิ อาจิ มูฮัมมัด อับดุล อาซิสอับมาด โทฮาริซูไฮมิ ฮาจิ มูฮัมมัดเตโอ ที อันโตนิโยหลิว ฟู ฉั่น (ดาน ยิง)ไพวรินทร์ ขาวงาม
พ.ศ. 2539เพนกิรัน ฮาจิ สับตุเรนดราซาฮาราห์ นาวาวิไมค์ แอล พิกอร์เนียโฮ มินฟองกนกพงศ์ สงสมพันธุ์โต๋ หิว
พ.ศ. 2540อาหวัง โมฮัมหมัด บิน หัจญี ติมบังเซโน กูมิรา อยีดารมามูฮัมหมัด หัจญี ซัลเลฮ์อเลฮันโดร โรเซสอีลันโกวันวินทร์ เลียววาริณ
พ.ศ. 2541บาดารุดดิน เอช โอเอ็น ริอานติอาร์โนดร. ทองคำ อ่อนมณีสอนรศ. ดร. ออตมาน ปูเตซินพิวขจุน อองเตงมาร์นี แอล กิลาเตสอับดุล กานิ ฮามิดแรคำ ประโดยคำ(สุพรรณ ทองคล้อย)มา วัน ค้าง
พ.ศ. 2542นอร์เซีย เอ็ม เอสพิค ตุม คราเวลดร. คุนโทวิโจโย เอ็มเอจันที เดือนสะหวันคาดิจาห์ ฮาซิมอู่ เคียว อังโอพีเลีย ดีมาลานตาดร. แคทเธอรีน ลิมวินทร์ เลียววาริณฮิว ถิง
พ.ศ. 2543เปฮิน ดาโต๊ะ อับดุล อะซีส บิน จูเนดกุง บุน เชือนวิสรัน ฮาดีสุวันทอน บุปผานุวงลิม สวี ตินดอว์ ยิน ยินอันโตนิโอ เอ็นริเกซเทโอ ฮีลาวิมล ไทรนิ่มนวลเหงวียน ขาย
พ.ศ. 2544อาหวัง ฮัจจี อิบบราฮิม บิน ฮัจจี มูฮาหมัดเมา อายุทธไซนี เค เอ็มโสมสี เดชาคำพูซากาเรีย อาร์ริฟินอู ทิน จีเฟลิซ พรูเดนเต ซันตา มาเรียโมฮัมเมด อิกบัลโชคชัย บัณฑิต(โชคชัย บัณฑิตศิละศักดิ์)เหงียน ดุ๊ก เมา
พ.ศ. 2545รอสลี อบีดิน ยาห์ยาเซง ซัม อันดาร์มันโต จัตมันวิเศษ แสวงศึกษาดร. อันวาร์ บิน ริดห์วันโรแบร์โต ที อโนนูเอโวโมฮัมเหม็ด ลาทิฟ บิน โมฮัมหมัดปราบดา หยุ่นเหงียน เคียน
พ.ศ. 2546รศ.ดร. หะจี ฮาชิม บิน หะจี อับดุล ฮามิดคิม ปินุนเอน เอช ดินีเทียบ วงปะกายดร. ซาคาเรีย อาลีดร. โดมินโก จี. แลนดิโชฟิลิป ชัยรัตนัมเดือนวาด พิมวนา(พิมใจ จูกลิ่น)บาง เวียด
พ.ศ. 2547หะจี จาวาวี บิน อะหมัดเช ชัปกุส ทีเอฟ ซาไกทองใบ โพธิสานซูรินาห์ ฮัซซันดร. เซซาร์ รูอิซ อากีโนดร. ซูน ไอ ลิงเรวัตร์ พันธุ์พิพัฒน์โด ชู
พ.ศ. 2548ราฮิมี เอ. บี.เมียช ปอนน์อาเซป แซมแซม นูร์บุญเสิน แสงมณีอับดุล คะฟาร์ อิบราฮิมมาลู ฮาคอบพี. กฤษณันบินหลา สันกาลาคีรี(วุฒิชาติ ชุ่มสนิท)ฟู ตรัม (อินระสะระ)
พ.ศ. 2549สะวัล ราจาบวันนาริรัก ปาลสิเตอร์ สิตูโมรังดวงเดือน บุนยะวงจอง เชียน ไลวิกเตอร์ เอมมานูเอล คาร์เมโล ดี. นาเดรา จูเนียร์อีซา กามารีงามพรรณ เวชชาชีวะเล ฟาน เถา
พ.ศ. 2550หะจี ม็อกซิน บินหะจี อับดัล การดีร์อม สุภาณีสุปาร์โต บราตารัตนวง หุมพันศาสตราจารย์ เราะห์มาน ชารี-ไมเคิล โคโรซาเรกซ์ เชลลีมนตรี ศรียงค์ชัน วัน ตวน
พ.ศ. 2551หะจี โมฮัมมัด บิน แปงกิรัน หะจี อับดุล เราะห์มานซิน โตจฮัมซาด รังกุติโอทอง คำอินซูฮัตตา อาซัด ข่าน-เอลเมอร์ อาลิงโดกัน ออร์โดเนซสเตลลา กอนวัชระ สัจจะสารสิน(วัชระ เพชรพรหมศร)เหวียน หงอก ตือ
พ.ศ. 2552ฮัจญา นอร์เซีย บินติ อับดุล กาปาร์-ฟลอริเบอร์ตุส ราฮาร์ดีคำแสง สีนนทองอัซมาห์ นอร์ดีน-อับดอน เจอาร์ บัลเดเจีย วี เพงอุทิศ เหมะมูลกาว ยวี เซิน
พ.ศ. 2553วิจยา-อัฟริซัล มัลนาดารา กันละยาซาเอน กัสตูรี-มาจอรี เอวาสโกโจฮาร์ บิน บวงซะการีย์ยา อมตยาเหงียน นัต อัน
พ.ศ. 2554โมฮัมเม็ด เซฟรี
อารีฟ บิน
โมฮัมเม็ด ไซน์ อารีฟ
-ดี. ซาวาวี อิมรอนบุนทะนอง ชมไชผนโมฮัมเม็ด ซากีร์
ไซยิด บิน
ไซยิด ออสมัน
-โรมูโล พี. บากิรัน จูเนียร์รอเบิร์ต เหยา เฉิงชวนจเด็จ กำจรเดช(สถาพร จรดิษฐ)เหงวียน จี๋ ตรุง
พ.ศ. 2555เปงกิรัน ฮัจจี มะหมุด บิน เปงกิรัน-โอกา รุสมีนีดวงชัย หลวงพะสีอิสมาอิล กัสซัน-ชาร์ลสัน อองซูเซน คริสตีน ลิมวิภาส ศรีทองจุง จุง ติ่ง
พ.ศ. 2556--

การแปลงทางเรขาคณิต








การเลื่อนขนาน (Translation)

จุดประสงค์ในการเรียนเรื่อง เลื่อนขนาน
เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการเลื่อนขนานและนำไปใช้ได้
บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนขนานและสามารถอธิบายวิธีการที่จะได้ภาพที่
ปรากฏ เมื่อกำหนดรูปแบบและภาพนั้นได้
อธิบายลักษณะของรูปที่เกิดขึ้นจากการเลื่อนขนานบนพิกัดฉากได้

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนเรื่อง เลื่อนขนาน
ทำให้นักเรียนเข้าใจรูปเหลี่ยมและรูปทรงเรขาคณิตมากขึ้น และนำความรู้ไปใช้
หาพื้นที่และปริมาตรของรูปเหลี่ยมและรูปทรงต่างๆ
นักเรียนสามารถพัฒนาศักยภาพทางคณิตศาสตร์ด้วยตนเอง

การเลื่อนขนานต้องมีรูปต้นแบบ ทิศทางและระยะทางที่ต้องการเลื่อนรูป การ เลื่อนขนานเป็นการแปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปที่ได้จากการเลื่อนรูปต้นแบบไปในทางทิศทางใดทิศทางหนึ่งด้วยระยะทางที่กำหนด จุดแต่ละจุดบนรูปที่ได้จากการเลื่อนขนานระยะห่างจากจุดที่สมนัยกันบนรูปต้นแบบเป็นระยะทางเท่ากัน การเลื่อนในลักษณะนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สไลด์ (slide)” ดังตัวย่าง




การสะท้อน (Reflection)
จุดประสงค์ในการเรียนเรื่อง การสะท้อน
เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการสะท้อนและนำไปใช้ได้
บอกรูปที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนและสามารถอธิบายวิธีการที่จะได้ภาพที่
ปรากฏ เมื่อกำหนดรูปแบบและภาพนั้นได้
อธิบายลักษณะของรูปที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนบนระนาบพิกัดฉากได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนเรื่อง การสะท้อน
การสะท้อนต้องมีรูปต้นแบบที่ต้องการสะท้อนและเส้นสะท้อน (reflection line หรือ Mirror line) การสะท้อนรูปข้ามเส้นสะท้อนเสมือนกับการพลิกรูปข้ามเส้นสะท้อนหรือการดูเงา สะท้อนบนกระจกเงาที่วางบนเส้นสะท้อน การสะท้อนเป็นการแปลงที่มีการจับคู่กันระหว่างจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อน โดยที่
1. รูปที่เกิดจากการสะท้อนมีขนาดและรูปร่างเช่นเดิม หรือกล่าวว่ารูปที่เกิดจากการสะท้อนเท่ากันทุกประการกับรูปเดิม
2. เส้นสะท้อนจะแบ่งครึ่งและตั้งฉากกับส่วนของเส้นตรงที่เชื่อมระหว่างจุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบกับจุดแต่ละจุดบนรูปสะท้อนที่สมนัยกัน นั่นคือระยะระหว่างจุดต้นแบบและเส้นสะท้อนเท่ากับระยะระหว่างจุดสะท้อนและเส้นสะท้อน

การหมุน (Rotation)
จุดประสงค์ในการเรียนเรื่อง การหมุน
เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการหมุนและนำไปใช้ได้
บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการหมุนรูปต้นแบบได้และสามารถอธิบายวิธีการที่จะได้
ภาพที่ปรากฏ เมื่อกำหนดรูปแบบและภาพนั้นได้
อธิบายลักษณะของรูปที่เกิดขึ้นจากการหมุนรูปต้นแบบบนระนาบพิกัดฉากได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนเรื่อง การหมุน
การหมุนจะต้องมีรูปต้นแบบ จุดหมุนและขนาดของมุมที่ต้องการในรูปนั้น การมุมเป็นการแปลงที่จับคู่จุดแต่ละจุดของรูปที่ได้จากการหมุน โดยที่จุดแต่ละจุดบนรูปต้นแบบเคลื่อนที่รอบจุดหมุนด้วยขนาดของมุมที่กำหนด จุดหมุนจะอยู่นอกรูปหรือบนรูปก็ได้ การหมุนจะหมุนตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกาก็ได้ โดยทั่วไปเมื่อไม่ระบุไว้การหมุนรูปจะเป็นการหมุนทวนเข็มนาฬิกา บางครั้งถ้าเป็นมุมที่เกิดจากการหมุนตามเข็มนาฬิกา ขนาดของมุมอาจใช้สัญลักษณ์ -x๐ หรือ ถ้าเป็นมุมที่เกิดจากการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ขนาดของมุมอาจใช้สัญลักษณ์ x

การสะท้อนแบบเลื่อน (Glide Reflection)
จุดประสงค์ในการเรียนเรื่อง การสะท้อนแบบเลื่อน
เข้าใจเกี่ยวกับการแปลงทางเรขาคณิตในเรื่องการสะท้อนแบบเลื่อนและนำไปใช้ ได้
บอกภาพที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนแบบเลื่อนและสามารถอิบายวิธีการที่จะได้
ภาพที่ปรากฏ เมื่อกำหนดรูปแบบและภาพนั้นได้
อธิบายลักษณะของรูปที่เกิดขึ้นจากการสะท้อนแบบเลื่อนบนระนาบพิกัดฉากได้
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการเรียนเรื่อง การสะท้อนแบบเลื่อน
การสะท้อนแบบเลื่อน เป็นการแปลงอีกชนิดหนึ่ง การสะท้อนแบบเลื่อน ประกอบด้วย การสะท้อนและการเลื่อนที่เกิดขึ้นเป็นลำดับ โดยเกิดจากการสะท้อนก่อนแล้วตามด้วยการเลื่อนขนาน (สิ่งสำคัญในการสะท้อนแบบเลื่อน คือ แกนสะท้อน ระยะทางและทิศทางในการเลื่อน)