กาพย์ฉบัง๑๖
ลักษณะคำประพันธ์
๑. บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
(วรรครับ)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง
๑. บท บทหนึ่งมี ๓ วรรค อาจเรียกว่าวรรคสดับ วรรครับ วรรคส่ง ก็ได้ แบ่งเป็น
วรรคแรก (วรรคสดับ) มี ๖ คำ วรรคที่สอง (วรรครับ) มี ๔ คำ
วรรคที่ ๓ (วรรคส่ง) มี ๖ คำ
รวมทั้งหมด ๑๖ คำ จึงเรียกฉบัง ๑๖
๒. สัมผัส
ก. สัมผัสนอก หรือสัมผัสระหว่างวรรค อันเป็นสัมผัสบังคับ มีดังนี้
คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) สัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรคสอง
(วรรครับ)
สัมผัสระหว่างบท ของกาพย์ฉบัง คือ
คำสุดท้ายของวรรคสาม (วรรคส่ง) เป็นคำส่งสัมผัส บังคับให้บทต่อไปต้องรับ สัมผัสที่คำสุดท้ายของวรรคหนึ่ง (วรรคสดับ) ดังตัวอย่าง
ฉบังสิบหกความหมาย หนึ่งบทเรียงราย
นับได้สิบหกพยางค์
นับได้สิบหกพยางค์
สัมผัสชัดเจนขออ้าง เพื่อเป็นแนวทาง
ให้หนูได้คิดคำนึง
ให้หนูได้คิดคำนึง
พยางค์สุดท้ายวรรคหนึ่ง สัมผัสรัดตรึง
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ
สุดท้ายวรรคสองต้องจำ
สุดท้ายวรรคสามงามขำ ร้อยรัดจัดทำ
สัมผัสรัดบทต่อไป
สัมผัสรัดบทต่อไป
บทหนึ่งกับสองว่องไว จงจำนำไป
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
“อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์”
เรียงถ้อยร้อยกาพย์ฉบัง
“อ.ภาทิพ ศรีสุทธิ์”
สาบเสือเจือขาวราวไพร น้อยค่าคนให้
ไม่ไร้แมลงเวียนชม
ไม่ไร้แมลงเวียนชม
ข. สัมผัสใน แต่ละวรรคของกาพย์ฉบัง แบ่งช่วงจังหวะเป็นวรรคละสองคำ ดังนี้
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
กาพย์นี้ – มีนาม – ฉบัง สามวรรค – ระวัง
จังหวะ – จะ โคน – โยนคำ
ข้อสังเกต
กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
หนึ่งสอง – หนึ่งสอง – หนึ่งสอง
ฉะนั้นสัมผัสในจึงกำหนดได้ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้นเอง ดังตัวอย่าง
กาพย์นี้ – มีนาม – ฉบัง สามวรรค – ระวัง
จังหวะ – จะ โคน – โยนคำ
ข้อสังเกต
กาพย์ฉบังไม่เคร่งสัมผัสใน จะมีหรือไม่มีก็ได้ ขอเพียงใช้คำที่อ่านแล้วราบรื่น ตามช่วงจังหวะของแต่ละวรรคนั้น ๆ เท่านั้น
ส่วนสัมผัสนอก ระหว่างวรรคที่สอง (วรรครับ) กับวรรคที่สาม (วรรคส่ง) นั้น จะมีหรือไม่มี
ก็ได้ไม่บังคับเช่นกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น