หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

ทวีปอเมริกาใต้

ทวีปอเมริกาใต้

แผนที่โลกแสดงที่ตั้งของทวีปอเมริกาใต้
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาใต้
แผนที่ทวีปอเมริกาใต้
ทวีปอเมริกาใต้ เป็นทวีปที่เส้นศูนย์สูตรโลกพาดผ่าน พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในซีกโลกใต้ ขนาบข้างด้วยมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก ในทางภูมิศาสตร์ ทวีปอเมริกาใต้เพิ่งจะเคลื่อนมาบรรจบกับทวีปอเมริกาเหนือเมื่อไม่นานมานี้ ทำให้เกิดคอคอดปานามา เทือกเขาแอนดีสที่มีอายุน้อยและไม่หยุดนิ่งพาดผ่านเขตด้านตะวันตกของทวีป ดินแดนทางตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส คือ แอ่งแม่น้ำแอมะซอน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเขตป่าดิบชื้น
ทวีปอเมริกาใต้มีพื้นที่กว้างใหญ่เป็นอันดับ 4 รองจากเอเชีย แอฟริกา และอเมริกาเหนือตามลำดับ ส่วนจำนวนประชากรเป็นอันดับ 5 รองจากเอเชีย แอฟริกายุโรป และอเมริกาเหนือ

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์[แก้]

Bariloche- Argentina2.jpg
หลักฐานทางโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ พบว่ามีคนอาศัยอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ตั้งแต่ประมาณ 12,500 ปีก่อนคริสต์ศักราช โดยพบเครื่องมือหินและเครื่องใช้ที่ทำด้วยหนังสัตว์ในประเทศชิลี กระทั่ง 200 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในประเทศเปรูปัจจุบันมีวัฒนธรรมนาสคา เกิดขึ้นโดยมีการศึกษาเกี่ยวกับการโคจรของดวงอาทิตย์และมีการใช้เครื่องประดับ
ประชากรในทวีปอเมริกาใต้ สันนิษฐานว่าอพยพมาจากทวีปเอเชียเข้าสู่ทวีปอเมริกาเหนือโดยผ่านช่องแคบแบริง แล้วเดินทางลงใต้ผ่านอเมริกากลางจนถึงอเมริกาใต้เช่นปัจจุบัน ดังนั้นชนพื้นเมืองของทวีปอเมริกาใต้และอเมริกาเหนือจึงมีความสัมพันธ์กันทางเชื้อชาติ โดยในเปรูชนพื้นเมืองอินเดียนได้สร้างอาณาจักรอินคา ครอบคลุมอาณาเขตกว้างขวางทางตะวันตกของทวีป โดยมีเมืองคุชโกเป็นศูนย์กลางของอาณาจักร
ในปี พ.ศ. 2042 คริสโตเฟอร์ โคลัมบัส เดินทางด้วยเรือมายังรอยต่อของอเมริกากลางและอเมริกาใต้ ซึ่งชื่อของเขาก็เป็นที่มาของประเทสโคลอมเบียในปัจจุบัน กระทั่ง พ.ศ. 2043 ประเทศต่างๆในยุโรปโดยเฉพาะประเทศสเปน อิตาลี โปรตุเกส อังกฤษ และฝรั่งเศส ได้เข้ามาสำรวจ และยึดครองดินแดนเป็นอาณานิคมเป็นจำนวนมาก ประเทศเจ้าของอาณานิคมจากยุโรปยึดครองและได้ผลประโยชน์จากดินแดนในทวีปอเมริกาใต้มานานหลายร้อยปี จนกระทั่งใน พ.ศ. 2261 โฮเซ เดอ ซาน มาร์ติน ปลดปล่อยประเทศอาร์เจนตินา ชิลี โคลอมเบีย เอกวาดอร์ เวเนซุเอล่า ให้เป็นอิสระจากสเปนและปลดปล่อยประเทศบราซิลให้เป็นอิสระจากประเทศโปรตุเกสในลำดับถัดมา แลนด์จนกระทั่งปัจจุบัน เช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสที่ยังคงยึดครองดินแดนเฟรนช์เกียนาทางตอนเหนือของทวีปเอาไว้

ลักษณะทางกายภาพ[แก้]

ทำเลที่ตั้งและอาณาเขต[แก้]

ทวีปอเมริกาใต้ตั้งอยู่บนซีกโลกใต้เป็นส่วนมากโดยอยู่ระหว่างละติจูดที่ 12 อาศาเหนือ ถึง 56 องศาใต้ และลองจิจูด 35 องศาตะวันออก ถึง 117 องศาตะวันตก มีเนื้อที่ประมาณ 17.8 ล้านตารางกิโลเมตร หรือคิดเป็นร้อยล่ะ 14 ของแผ่นดินโลก ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก และมีเนื่อที่แผ่นดินติดต่อกันทำให้ชายฝั่งของทะเลมีน้อยเมื่อเทียบกับขนาดของทวีป โดยทวีปอเมริกาใต้มีแผ่นดินใหญ่รูปร่างคล้ายสามเหลี่ยม

อาณาเขต[แก้]

ทวีปอเมริกาใต้มีอาณาเขตติดต่อกับทวีปต่างๆดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับประเทศปานามาของทวีปอเมริกาเหนือ และจดทะเลแคริบเบียน
ทิศตะวันออก จดมหาสมุทรแอตแลนติก อาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะจอร์เจียใต้
ทิศตะวันตก จดมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ และอาณาเขตสิ้นสุดที่เกาะอีสเตอร์ของประเทศชิลี
ทิศใต้ จดช่องแคบเดรกในทวีปแอนตาร์กติกา และ อาณาเขตสิ้นสุดที่แหลมฮอร์นของประเทศชิลี
ทวีปอเมริกาใต้ประกอบด้วย 12 ประเทศ และ 3 เขตการปกครอง ซึ่งแบ่งออกตามลักษณะภูมิประเทศได้ 4 กลุ่ม ดังนี้
  • เขตที่สูงกายอานา อยู่ทางตอนเหนือของทวีป มี 4 ประเทศ คือ ประเทศกายอานา ซูรินาม เวเนซุเอลา และโคลอบเบีย ประเทศโคลอมเบียมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตที่เทือกเขาแอนดีส อยู่ทางภาคตะวันตกของทวีป ประกอบด้วย 4 ประเทศ คือ ประเทศเปรู เอกวาดอร์ โบลิเวีย และ ชิลี ประเทศโบลิเวียมีเนื้อที่มากที่สุด ส่วนประเทศเปรูมีประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตลุ่มน้ำตะวันออกเฉียงใต้ของเทือกเขาแอนดิส ประกอบด้วยประเทศอาร์เจนตินา ปารากวัย และ อุรุกวัย ประเทศอาร์เจนตินามีเนื้อที่และประชากรมากที่สุดในเขตนี้
  • เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่ราบสูงบราซิล ได้แก่ ประเทศบราซิล ซึ่งมีเนื้อที่มากกว่า 8.5 ล้านตารางกิโลเมตร
ตารางแสดงประเทศในทวีปอเมริกาใต้
ประเทศพื้นที่
(km²)
ประชากร
(1 กรกฎาคม 2548)
ความหนาแน่น
(per km²)
เมืองหลวง
 กายอานา  214,970    765,2833.6จอร์จทาวน์
 โคลอมเบีย1,138,910 42,954,27937.7โบโกตา
 ชิลี [1]  756,950 15,980,91221.1ซานเตียโก
 ซูรินาม  163,270    438,1442.7ปารามารีโบ
 บราซิล8,514,877187,550,72622.0บราซีเลีย
 โบลิเวีย1,098,580  8,857,8708.1ซูเกร
 ปารากวัย  406,750  6,347,88415.6อะซุนซิออง
 เปรู1,285,220 27,925,62821.7ลิมา
 เวเนซุเอลา  912,050 25,375,28127.8การากัส
 หมู่เกาะฟอล์กแลนด์   12,173      2,9670.24สแตนลีย์
 อาร์เจนตินา2,766,890 39,537,94314.3บัวโนสไอเรส
 อุรุกวัย  176,220  3,415,92019.4มอนเตวิเดโอ
 เอกวาดอร์  283,560 13,363,59347.1กีโต
 เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช (สหราชอาณาจักร)    3,093          00คิงเอดเวิร์ดพอยต์
 เฟรนช์เกียนา (ฝรั่งเศส)   91,000    195,5062.1กาแยน

ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]

แบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่

เขตที่สูงกายอานา[แก้]

เขตที่สูงกายอานาประกอบด้วย เขตที่สูงกายอานา (Guiana Highland) และที่ลุ่มยาโนส (Llanos) เป็นพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือสุดของทวีป เป็นหินอัคนีหรือหินแกรนิต มีความยาวในแนวตะวันออกถึงตะวันตกมากว่า 1,600 กิโลเมตร พื้นที่สูงเริ่มจากตอนใต้ของประเทศเวเนซุเอลาไปถึงเหนือสุดของประเทศบราซิล ประกอบด้วยที่ราบสูง มีร่องน้ำลึกมาก มีน้ำตกที่สูงสุดของโลก คือ น้ำตกแองเจิล ซึ่งสูง 979 เมตร
ที่ลุ่มยาโนสอยู่ทางทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือของที่สูงกายอานา เป็นพื้นที่ราบลุ่มระหว่างเทือกเขาแอนดีสและที่สูงกายอานา อยู่ในประเทสโคลอมเบียและเวเนซุเอลา มีแม่น้ำที่สำคัญ คือ โอริโนโค (Orinoco) และสาขา ซึ่งเกิดจากการทับถมของตะกอนน้ำทำให้เป็นที่ราบลุ่มสมบูรณ์

เขตเทือกเขาแอนดีส[แก้]

เทือกเขาแอนดิส เป็นเทือกเขาแคบวางตัวยาวในแนวเหนือ-ใต้เลียบชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกใต้ เริ่มตั่งแต่แหลมเหนือสุดของทวีปอเมริกาใต้ เป็นแนวยาวลงไปจนสุดแหลมฮอร์นของประเทศชิลี ด้านทิศตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก มีชายฝั่งแคบมากและภูเขาสูงชัน มีแม่น้ำสายสั้นๆ ไหลลงมหาสมุทรแปซิฟิก บางบริเวณเป็นเขตแห้งแล้งหรือหนาวเย็นจัด ด้านทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสจะมีความลาดชันน้อยกว่าซีกตะวันตก และเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสำคัญ เช่นแม่น้ำแอมะซอน เป็นต้น

เขตลุ่มน้ำภาคใต้[แก้]

เขตลุ่มน้ำภาคใต้อยู่ทางทิศตะวันออกของเทือกเขาแอนดีส เริ่มตั้งแต่ตอนใต้ของประเทศโบลิเวียไปจนสุดแหลมภาคใต้ของประเทศอาร์เจนตินา ประกอบด้วยที่ราบแพมพาส (Pampas) และปาตาโกเนีย (Patagonia) ในประเทศอาร์เจนตินา
ที่ราบแพมพาสมีลักษณะเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีแม่น้ำหลายสายไหลผ่านไปลงสู่อ่าวริโอ เดอ ลา พลาตา (Rio de la Plata) ระหว่างเมืองหลวงของประเทศอุรุกวัยและอาร์เจนตินา
ที่ราบปาตาโกเนีย มีภูมิอากาศแบบทะเลทรายหนาวเย็น อยู่ทางตอนใต้ของประเทศอาร์เจนตินา มีพื้นที่ค่อนข้างขรุขระและมีต้นไม้ขึ้นหนาแน่น พื้นที่บางส่วนเป็นธารน้ำแข็งและทะเลสาบ ชายฝั่งเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของนกเพนกวิน แมวน้ำ และวาฬ และสัตว์อื่นๆอีกนานาชนิดที่เข้ามาอาศัยอยู่

เขตลุ่มแม่น้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิล[แก้]

เขตลุ่มน้ำแอมะซอนและที่สูงบราซิลในประเทศบราซิล เริ่งตั้งแต่ด้านตะวันออกของเทือกเขาแอนดีสในเปรูจนถึงด้านตะวันออกของบริเวณชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกลุ่มน้ำแอมะซอน หรือเรียกสั้นๆ ว่า "แอมะโซเนีย" (Amazonia) เป็นพื้นที่ราบต่ำ มีระดับความสูงต่ำกว่า 200 เมตร มีความลาดเทน้อยมาก แม่น้ำมีความยาว 6,570 กิโลเมตร คลุมพื้นที่มากกว่า 8 ล้านตารางกิโลเมตร พื้นที่เต็มไปด้วยป่าดิบชื้นที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ส่วนที่สูงบราซิลอยู่ทางทิศตะวันออกติดมหาสมุทรแอตแลนติก เริ่มตั้นแต่ตอนกลางของประเทศบราซิลลงไปติดประเทศอุรุกวัย มีความยาวประมาณ 1,280 กิโลเมตร ประกอบด้วยภูเขาไม่สูงมากนัก นอกจากภูมิประเทศทั้ง 4 เขต แล้ว ทวีปอเมริกาใต้ยังมีชายฝั่งทะเล โดยทางตะวันออกติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก และทางตะวันตกติดมหาสมุทรแปซิฟิก ซึ่งบริเวณชายฝั่งทางตอนใต้ของทวีปจะเป็นฟยอร์ด (Fjord) ที่เกิดขึ้นจากการกระทำของธารน้ำแข็ง และมีสัตว์และนกหลายชนิดอาศัยอยู่
ทางตอนเหนือของทวีปมีแม่น้ำไหลลงทะเลแคริบเบียน แม่น้ำแอมะซอนไหลจากเทือกเขาแอนดีสลงสู่มหาสมุทรแอตแลนติกที่เมืองมาคาปา (Macapa) ประเทศบราซิล โดยบริเวณปากแม่น้ำนั้นมีเกาะจำนวนมาก นอกจากนั้นยังมีแม่น้ำปารากวัย แม่น้ำอุรุกวัย แม่น้ำซาลาโต แม่น้ำโคโลราโด แม่น้ำซูบัต และแม่น้ำสายสั้นๆ อีกไหลจากทางทิศตะวันตกของทวีปไปลงมหาสมุทรแอตแลนติกทางด้านตะวันออก

ลักษณะภูมิอากาศและพืชพรรณธรรมชาติ[แก้]

ลักษณะภูมิอากาศ[แก้]

ทวีปอเมริกาใต้ มีเนื้อที่ส่วนมากอยู่ในเขตร้อน โดยเฉพาะทางตอนเหนือของทวีป จะมีลักษณะอากาศแบบมรสุมเขตร้อนจนถึงแบบอบอุ่น ส่วนในทางใต้จะได้รับอิทธิพลจากขั้วโลกใต้ ทำให้มีอากาศหนาวเย็น สามารถแบ่งภูมิอากาศตามแบบเคิปเปนได้ดังนี้
  1. เขตภูมิอากาศแบบป่าดิบชื้น หรือฝนตกชุกเขตร้อน (Af) และภูมิอากาศแบบมรสุมเขตร้อน (Am) มีฝนตกชุกมากทั้งปี เช่น พื้นที่ชายฝั่งตะวันตกและตอนใต้ของประเทศโคลอมเบีย ตอนเหนือและชายฝั่งตะวันออกของประเทศบราซิล เป็นต้น
  2. เขตภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา (Aw) เป็นเขตภูมิอากาศแบบร้อนชื้นสลับแล้ง ได้แก่ พื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศบราซิลและทางทิศตะวันตกของประเทศเอกวาดอร์
  3. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตร้อน (BWh) เป็นเขตภูมิอากาศที่มีฝนตกน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี เช่น พื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศเวเนซุเอลาที่ติดกับทะเลแคริบเบียน เป็นต้น
  4. เขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายเขตหนาว (BWk) เป็นเขตภูมิอากาศแบบทะเลทรายแต่มีอากาศหนาวเย็น ได้แก่ พื้นที่ทางตะวันตกของเทือกเขาแอนดีส ชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณประเทศเปรูและชิลี
  5. เขตภูมิอากาศแบบแห้งแล้งกึ่งทะเลทรายหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BSh) เป็นเขตภูมมิอากาศแบบแห้งแล้ง ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยในรอบปี 380-760 มิลลิเมตร ได้แก่ พื้นที่ทางเหนือสุดของทวีปในประเทศโคลอมเบียและทางตอนกลางของอาร์เจนตินา
  6. เขตภูมิอากาศแบบอบอุ่นชื้น (Cfa) เป็นเขตที่มีฝนตกชุก เนื้องจากชายฝั่งทะเลด้านทิศตะวันออก มีกระแสน้ำอุ่นบราซิลไหลเลียบชายฝั่งลงมาทางทิศใต้ เช่น บริเวณประเทศอาร์เจนตินาและอุรุกวัยที่ติดกับมหาสมุทรแอตแลนติก
  7. เขตภูมิอากาศแบบชื้นภาคพื้นสมุทรชายฝั่งตะวันตก (Cfb) มีฤดูหนาวยาวนาน ได้แก่ พื้นที่ด้านตะวันตกของประเทศชิลีและปลายแหลมของทวีป
  8. เขตภูมิอากาศแบบที่สูง (H) เป็นภูมิอากกาสที่หนาวเย็นบนเทือกเขาสูง ได้แก่ บริเวณเทือกเขาแอนดีส

ลักษณะพืชพรรณธรรมชาติ[แก้]

ทวีปอเมริกาใต้เป็นทวีปที่มีพื้นที่ป่าไม้มากที่สุดในโลก โดยลุ่มน้ำแอมะซอนนั้นเป็นพื้นที่ป่าไม้เขตร้อนที่สำคัญ พืชพรรณธรรมชาติในทวีปอเมริกาแบ่งออกได้เป็นเขตดังนี้

ป่าดิบชื้น[แก้]

เป็นป่าไม้ที่มีลำต้นสูง ไม่มีกิ่งสาขาในระดับต่ำ รากมีลักษณะเป็นแนวนูนขึ้นมาบนต้น ใบใหญ่ และมีสีเขียวตลอดปี พันธุ์ไม้มีความหลากหลายมาก มักพบกล้วยไม้ ไม้เลื้อย เช่น เถาวัลย์ เฟิร์น และมอส เป็นต้น ป่าดิบชื้นในลุ่มน้ำแอมะซอนเป็นป่าไม้ประมาณร้อยล่ะ 25 ของพื้นที่ป่าไม้โลก นอกจากนั้นยังพบป่าดินชื้นในประเทศเวเนซุเอลา โคลอมเบีย และเอกวาดอร์ อีกด้วย

ทวีปอเมริกาเหนือ

ทวีปอเมริกาเหนือ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวีปอเมริกาเหนือ (อังกฤษNorth Americaฝรั่งเศสAmérique du NordสเปนAmérica del Norteเดนมาร์กNordamerika) เป็นทวีปที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ ประกอบด้วยภูมิภาคอเมริกาเหนือและอเมริกากลาง ซึ่งแบ่งแยกกันอย่างชัดเจนตามขอบเขตของประเทศโดยมีแม่น้ำริโอแกรนด์เป็นแนวเขตแดน ภูมิภาคอเมริกาเหนือมีเพียง 2 ประเทศ คือ ประเทศแคนาดาสหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนใหญ่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ ส่วนอเมริกากลางใช้ภาษาสเปนเป็นหลัก ประกอบด้วยประเทศทั้งใหญ่และเล็ก รวมถึงประเทศที่เป็นหมู่เกาะจำนวน 22 ประเทศ โดยกรีนแลนด์เป็นประเทศอยู่เหนือที่สุด และประเทศปานามาอยู่ใต้สุด มีพรมแดนติดกับทวีปอเมริกาใต้ สภาพโดยรวมแล้วประชากรในอเมริกาเหนือมีชีวิตความเป็นอยู่ดีกว่าอเมริกากลาง ทวีปอเมริกาเหนือได้แก่พื้นที่ตอนเหนือทั้งหมดของดินแดนที่เรียกว่า โลกใหม่ ซีกโลกตะวันตก หรือ ทวีปอเมริกา อเมริกาเหนือมีส่วนเชื่อมต่อกับทวีปอเมริกาใต้บริเวณคอคอดปานามา ผู้เชี่ยวชาญบางคนกล่าวว่าอเมริกาเหนือไม่ได้เริ่มจากคอคอดปานามา แต่เริ่มจากคอคอดเตวานเตเปก (Tehuantepec) ในประเทศเม็กซิโก ซึ่งอยู่ในอเมริกากลาง
แผนที่โลกแสดงที่ตั้งของทวีปอเมริกาเหนือ
แผนที่ดาวเทียมแสดงส่วนประกอบทางภูมิศาสตร์ของทวีปอเมริกาเหนือ

ประวัติศาสตร์[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือถูกค้นพบโดยคริสโตเฟอร์ โคลัมบัส นักเดินเรือชาวอิตาเลียน เดินทางมาพบหมู่เกาะเวสต์อินดีส ในปี พ.ศ. 2035 และเข้าใจว่าดินแดนที่ค้นพบนั้นเป็นส่วนหนึ่งของทวีปเอเชีย โคลัมบัส ได้เรียกทวีปนี้ว่า อินเดียตะวันตก และเรียกชนพื่นเมืองว่า อินเดียนแดง ในปี พ.ศ. 2042 อเมริโก เวสปุชชี ชาวอิตาลี ได้เดินทางสำรวจดินแดนที่โคลัมบัสเคยสำรวจมาแล้ว และทราบว่าดินแดนที่พบนั้นเป็นทวีปใหม่ ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของทวีปเอเชียตามที่โคลัมบัสเข้าใจ ดินแดนนี้จึงได้ชื่อว่า อเมริกา เพื่อเป็นเกียรติแก่เวสปุชชี

ภูมิหลังทางประวัติศาสตร์[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือเป็นทวีปที่พบใหม่ แต่พบว่ามีชนชาวเอเชียอพยพผ่านเข้าไปในอเมริกาเหนือทาง ช่องแคบแบริง เมื่อประมาณ 35000-12000 ปีก่อนศริสต์ศักราช ซึ่ง คือชาวอเมริกัน-อินเดียน โดยมีการค้นพบเครื่องมือหินเป็นหลักฐาน ต่อจากนั้นมีการอพยพลงใต้ ทำให้เริ่มมีชนเผ่าพื้นเมืองตั่งแต่เหนือสุดลงไปสู่ทางทิศใต้ของอเมริกาเหนือ

ดินแดนและภูมิภาคย่อย[แก้]

แผ่นดินผืนใหญ่ของทวีปประกอบไปด้วย 2 ประเทศใหญ่คือ แคนาดา สหรัฐอเมริกา พื้นที่ทางใต้ของทวีปซึ่งมีพื้นที่เล็กกว่าซึ่งอาจเรียกเป็นภูมิภาคย่อยว่าอเมริกากลาง ในภูมิภาคอเมริกากลางนี้ประกอบได้ด้วย ประเทศ เบลิซ คอสตาริกา เอลซัลวาดอร์ กัวเตมาลา ฮอนดูรัส นิการากัว เม็กซิโกและปานามา นอกจากพื้นที่บนผืนทวีปแล้วยังมีหมู่เกาะจำนวนมากซึ่งอยู่ใกล้ๆกับแผ่นดินใหญ่ของทวีปดินแดนหมู่เกาะที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ของแผ่นดินใหญ่มักจะถูกเรียกรวม ๆ กันว่าแคริบเบียน ซึ่งประกอบไปด้วยประเทศอิสระคือ แอนติกาและบาร์บูดา บาฮามาส บาร์เบโดส คิวบา ดอมินีกา สาธารณรัฐโดมินิกัน เกรนาดา เฮติ จาเมกา เซนต์คิตส์และเนวิส เซนต์ลูเซีย เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ ตรินิแดดและโตเบโก และดินแดนภายใต้ความคุ้มครองได้แก่ แองกวิลลา (ดินแดนของสหราชอาณาจักรอารูบา (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์หมู่เกาะเคย์แมน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กัวเดอลุป (ดินแดนของฝรั่งเศส) มาร์ตีนิก (ดินแดนของฝรั่งเศส) มอนต์เซอร์รัต (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) เกาะนาแวสซา (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) กือราเซา (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์) เปอร์โตริโก (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) หมู่เกาะเวอร์จิน (ดินแดนของสหรัฐอเมริกา) ซินต์มาร์เติน (ดินแดนของเนเธอร์แลนด์)
หมู่เกาะซึ่งอยู่ในมหาสมุทรแอตแลนติกก็ถือเป็นส่วนหนึ่งในทวีปอเมริกาเหนือด้วยได้แก่ เบอร์มิวดา (ดินแดนของสหราชอาณาจักร) กรีนแลนด์ (ดินแดนของเดนมาร์กแซงปีแยร์และมีเกอลง (ดินแดนของฝรั่งเศส)

ตารางรายชื่อประเทศและดินแดนในทวีปอเมริกาเหนือ[แก้]

รายชื่อดินแดนพื้นที่
(km²)
ประชากร*
(คน)
ความหนาแน่นของประชากร
(per km²)
เมืองหลวง
แคริบเบียน:
แองกวิลลา (สหราชอาณาจักร)10213,254129.9เดอะแวลลีย์
แอนติกาและบาร์บูดา44368,722155.1เซนต์จอห์น
อารูบา (เนเธอร์แลนด์)19371,566370.8โอรันเยสตัด
บาฮามาส13,940301,79021.6แนสซอ
บาร์เบโดส431279,254647.9บริดจ์ทาวน์
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน (สหราชอาณาจักร)15322,643148.0โรดทาวน์
หมู่เกาะเคย์แมน (สหราชอาณาจักร)26244,270169.0จอร์จทาวน์
คิวบา110,86011,346,670102.4ฮาวานา
ดอมินีกา75469,02991.6Roseau
สาธารณรัฐโดมินิกัน48,7308,950,034183.7ซานโตโดมิงโก
เกรนาดา34489,502260.2เซนต์จอร์จ
กัวเดอลุป (ฝรั่งเศส)1,780448,713252.1บัส-แตร์
เฮติ27,7508,121,622292.7ปอร์โตแปรงซ์
จาเมกา10,9912,731,832248.6คิงส์ตัน
มาร์ตีนิก (ฝรั่งเศส)1,100432,900393.5ฟอร์-เดอ-ฟร็องส์
มอนต์เซอร์รัต (สหราชอาณาจักร)1029,34191.6พลิมัทเบรดส์
เกาะนาแวสซา (สหรัฐอเมริกา)5
เนเธอร์แลนด์แอนทิลลีส (เนเธอร์แลนด์)960219,958229.1วิลเลมสตัด
เปอร์โตริโก (สหรัฐอเมริกา)9,1043,916,632430.2ซานฮวน
เซนต์คิตส์และเนวิส26138,958149.3บาสแตร์
เซนต์ลูเซีย616166,312270.0แคสตรีส์
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์389117,534302.1คิงส์ทาวน์
ตรินิแดดและโตเบโก5,1281,088,644212.3พอร์ต-ออฟ-สเปน
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส (สหราชอาณาจักร)43020,55647.8คอกเบิร์นทาวน์
หมู่เกาะเวอร์จิน (สหรัฐอเมริกา)352108,708308.8ชาร์ลอตต์อะมาลี
อเมริกากลาง:
เบลีซ22,966279,45712.2เบลโมแพน
คอสตาริกา51,1004,016,17378.6ซันโฮเซ
เอลซัลวาดอร์21,0406,704,932318.7ซันซัลวาดอร์
กัวเตมาลา108,89014,655,189134.6กัวเตมาลาซิตี
ฮอนดูรัส112,0906,975,20462.2เตกูซิกัลปา
เม็กซิโก1,972,550106,202,90353.8เม็กซิโกซิตี
นิการากัว129,4945,465,10042.2มานากัว
ปานามา78,2003,039,15038.9ปานามาซิตี
อเมริกาเหนือ:
เบอร์มิวดา (สหราชอาณาจักร)5365,3651,233.3แฮมิลตัน
แคนาดา9,984,67032,805,0413.3ออตตาวา
กรีนแลนด์ (เดนมาร์ก)2,166,08656,3750.026นุก
แซงปีแยร์และมีเกอลง (ฝรั่งเศส)2427,01229.0แซงปีแยร์
สหรัฐอเมริกา9,629,091295,734,13430.7วอชิงตัน ดี.ซี.
รวม24,506,524514,684,47921.0
*ประมาณการเมื่อ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2545

ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขต[แก้]

ที่ตั้ง[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือตั้งอยู่ในเขตซีกโลกเหนือระหว่างละติจูด 7 องศา 15 ลิปดาเหนือถึง 83 องศา 38 ลิปดาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 55 องศา 42 ลิปตาตะวันตกถึึง 172 องศา 30 ลิปดาตะวันออก

ขนาด[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือมีพื้นที่ประมาณ 22,063,997 ตารางกิโลเมตร เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลก รองจากทวีปเอเชียและแอฟริกาตามลำดับ บริเวณที่กว้างที่สุดของทวีป คือ ตั้งแต่ช่องแคบเบริงถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ ส่วนบริเวณที่ยาวที่สุดของทวีป คือตั้งแต่คาบสมุทรบูเทียถึงคอคอดปานามา ซึ่งเป็นส่วนที่แคบที่สุดของทวีป คือกว้างประมาณ 74 กิโลเมตร ทวีปอเมริกาเหนือ มีรูปร่างคล้ายสามเหลี่ยมหัวกลับ คือมีฐานกว้างอยู่ทางด้านเหนือและปลายแหลมอยู่ทางตอนใต้

ประเทศในทวีปอเมริกาเหนือมีทั้งหมด 22 ประเทศ โดยแบ่งออกส่วน 3 ส่วนคือ
  1. แองโกลอเมริกา ได้แก่ ประเทศที่อยู่ทางตอนเหนือของแม่น้ำริโอแกรนด์ขึ้นไป
  2. ลาตินอเมริกา ได้แก่ ประเทศที่อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ำริโอแกรนด์ลงมา
  3. หมู่เกาะเวสต์อินดีส ได้แก่ ประเทศหมู่เกาะในทะเลคริบเบียน

อาณาเขต[แก้]

ทวีปอเมริกาเหนือมีอาณาเขตติดต่อดังนี้
  1. ทิศเหนือ - จดมหาสมุทรอาร์กติกและทะเลโบฟอร์ด
  2. ทิศตะวันออก - จดมหาสมุทรแอตแลนติก
  3. ทิศใต้ - ติดต่อกับทวีปอเมริกาใต้
  4. ทิศตะวันตก - จดมหาสมุทรแปซิฟิกและช่องแคบเบริงที่กั้นระหว่างทวีปอเมริกาเหนือกับทวีปเอเชีย

เขตภูมิประเทศของทวีปอเมริกาเหนือ[แก้]

เขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูงด้านตะวันตก[แก้]

ได้แก่ เทือกเขาที่วางตัวขนานกับชายฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกในแนวเหนือ - ใต้ ตั้งแต่เหนือสุดไปจนใต้ของทวีป และต่อเนื่องลงไปถึงเทือกเขาแอนดีสในทวีปอเมริกาใต้ ประกอบด้วยเทือกเขาสูงสุดสลับซับซ้อนหลายแนว ที่สำคัญเช่น เทือกเขาร็อกกี , เทือกเขาอะแลสกา , เทือกเขาบรุกส์ , เทือกเขาโคสต์ , และเทือกเขาเชียร์เนวาดา ในประเทศสหรัฐอเมริกา เทือกเขาแมกเคนซีในประเทศแคนาดา เทือกเขาเชียร์รามาเดรออกซิเดนตัลในประเทศเม็กซิโกมียอดเขาแมกคินลีย์บนเทือกเขาอะแลสกาเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในทวีปอเมริกาเหนือ คือ มีระดับความสูง 6,194 เมตร จากระดับทะเลปานกลาง
ในระหว่างเทือกเขาสูงที่ต่อเนื่องกันจะพบที่ราบสูงคั่นอยู่ระหว่างเทือกเขา ที่สำคัญเช่น ที่ราบสูงอะแลสกา , ที่ราบสูงเกรตเบซิน , ที่ราบสูงโคโลราโด , ในประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ราบสูงบริดิชโคลัมเบียในประเทศแคนาดา ที่ราบสูงแม็กซิโกในประเทศแม็กซฺิโก