ทวีปแอฟริกา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ทวีปแอฟริกา Africa | |
แผนที่โลกแสดงที่ตั้งของทวีปแอฟริกา
| |
จำนวนประเทศ | 54 ประเทศ (2 ประเทศพิพาท) |
ขนาดพื้นที่ | 30,221,532 ตารางกิโลเมตร (11,668,598.7 ตารางไมล์) |
ประชากร | 1,100 ล้านคน |
ความหนาแน่นของประชากร | 30.51 ต่อตารางกิโลเมตร (ประมาณ 80 ต่อตารางไมล์) |
ภาษา |
ทวีปแอฟริกา เป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทวีปเอเชีย ทั้งในแง่ของพื้นที่และจำนวนประชากร ด้วยพื้นที่ประมาณ 30.2 ล้านตารางกิโลเมตร (11.7 ล้านตารางไมล์) รวมทั้งเกาะต่าง ๆ ที่อยู่ข้างเคียง ทวีปแอฟริกามีพื้นที่ประมาณร้อยละ 6 ของพื้นผิวโลกทั้งหมด และนับเป็นพื้นที่ประมาณร้อยละ 20.4 ของพื้นดินทั้งหมด[1] ประชากรกว่า 1,100 ล้านคน (พ.ศ. 2556) ในดินแดน 61 ดินแดน นับเป็นร้อยละ 14.72 ของประชากรโลก
ทวีปแอฟริกาถูกล้อมรอบด้วยทะเลเมดิเตอร์เรเนียนทางตอนเหนือ คลองสุเอซและทะเลแดง บริเวณคาบสมุทรไซนายทางตะวันออกเฉียงเหนือมหาสมุทรอินเดียทางตะวันออกเฉียงใต้ และมหาสมุทรแอตแลนติกทางตะวันตก ประกอบด้วย 54 รัฐ
เนื้อหา
[ซ่อน]ลักษณะภูมิประเทศ[แก้]
แอฟริกาเป็นทวีปที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก มีทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเป็นพรมแดนระหว่างทวีปยุโรปทางตอนเหนือ และมีคลองสุเอซเป็นพรมแดนระหว่างทวีปเอเชียทางตะวันออกเฉียงเหนือ จุดเด่นของทวีปแอฟริกาคือ มีที่ราบสูงถึง 2 ใน 3 ของทวีป โดยเฉพาะทางภาคตะวันออกของทวีป เป็นที่ราบสูงโดยเฉลี่ยประมาณ 1,500 - 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีแนวภูเขาไฟที่ดับแล้ว มีแนวทะเลสาบขนาดใหญ่ แล้วจะลาดต่ำไปทางตะวันตก มีเกาะมาดากัสการ์ ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของทวีป
- เทือกเขา แบ่งออกเป็น 2 แนว
- เขตภูเขาทางภาคเหนือ เป็นเขตเทือกเขาเกิดใหม่อายุราวพอ ๆ กับเทือกเขาแอลป์ในทวีปยุโรป เรียกว่า เทือกเขาแอตลาส ขนานไปกับชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเขตพื้นที่ประเทศโมร็อกโก แอลจีเรีย และตูนิเซีย
- เขตภูเขาทางภาคใต้ ได้แก่ เทือกเขาดราเคนสเบิร์ก ในประเทศแอฟริกาใต้และเลโซโท
- ทะเลทราย แบ่งเป็น 2 เขตคือ
- ทะเลทรายตอนเหนือ ได้แก่ ทะเลทรายซาฮารา (ซึ่งเป็นทะเลทรายที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก) และทะเลทรายลิเบีย บริเวณนี้จะเกิดลมร้อนในทะเลทรายซาฮารา เรียกว่า ซิร็อกโก'
- เขตทะเลทรายตอนใต้ ได้แก่ ทะเลทรายนามิบและทะเลทรายคาลาฮารี
- แม่น้ำ
- แม่น้ำไนล์ เป็นแม่น้ำสายที่ยาวที่สุดในโลก ต้นน้ำคือทะเลสาบวิกตอเรีย ไหลลงทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
- แม่น้ำคองโก เป็นแม่น้ำเขตศูนย์สูตร ไหลลงมหาสมุทรแอตแลนติก
- แม่น้ำไนเจอร์ อยู่ในส่วนแอฟริกาตะวันตก ต้นน้ำอยู่ที่ประเทศเซียร์ราเลโอน ไหลลงสู่อ่าวกินี
- แม่น้ำแซมเบซี อยู่ทางด้านตะวันออกของทวีปมีแอ่งน้ำตก น้ำค่อนข้างไหลเชี่ยว ไหลลงมหาสมุทรอินเดีย ที่ประเทศโมซัมบิก
กระแสน้ำในมหาสมุทร[แก้]
- กระแสน้ำเย็นคะเนรี
- กระแสน้ำอุ่นกัลฟ์สตรีม
- กระแสน้ำอุ่นโซัมบิก
ภูมิอากาศ[แก้]
ส่วนใหญ่จะมีทะเลทราย อากาศแห้งแล้ง ส่งผลต่อความเป็นอยู่ของประชากรในทวีป ส่วนมากจะอยู่ทางตอนเหนือสุดและใต้สุดของทวีป ซึ่งมีอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียน มีภูมิอากาศแบบทุ่งหญ้าสะวันนา อยู่บริเวณตอนเหนือและใต้แนวศูนย์สูตร
การสำรวจ[แก้]
ดูบทความหลักที่: การสำรวจทวีปแอฟริกา
ยุโรปชาติแรกที่สำรวจแอฟริกาคือโปรตุเกส และหลังจากนั้นก็ถูกสำรวจโดย อังกฤษ ฝรั่งเศส และ ดัตช์ เป็นต้น นักสำรวจที่ยิ่งใหญ่ของแอฟริกามีหลายท่านด้วยกัน นักสำรวจที่รู้จักกันดีคือ ดร. เดวิด ลิฟวิงสโตน
เศรษฐกิจ[แก้]
แม้ว่าจะมีทรัพยากรธรรมชาติมากมาย แต่แอฟริกากลับเป็นทวีปที่ยากจนและด้อยพัฒนา ซึ่งมีสาเหตุหลายประการ เช่นการระบาดของโรคร้ายแรง (ได้แก่เชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และมาลาเรีย) รัฐบาลคอร์รัปชันและละเมิดสิทธิมนุษยชน การที่รัฐบาลขาดการวางแผน ระดับการรู้หนังสือที่ต่ำ การขาดแคลนเงินทุนต่างชาติ และความขัดแย้งระหว่างชนชาติที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในรูปของกองโจรไปจนถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์[2] จากรายงานการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติในปี ค.ศ. 2003 ประเทศที่อยู่อันดับต่ำสุด 25 ประเทศ (อันดับ 151 ถึง 175) ล้วนเป็นประเทศในทวีปแอฟริกา[3]
ข้อมูลเศรษฐกิจ[แก้]
- ตารางแสดงประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจหรือจีดีพีมากที่สุดในทวีปแอฟริกา 10 อันดับแรก 1
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อประเทศตามค่าจีดีพี
อันดับ (แอฟริกา) | ประเทศ | ค่าจีดีพี (ล้าน$) ปี 2009 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() |
- 1 ข้อมูลโดย IMF
- ตารางแสดงประเทศในทวีปแอฟริกาที่มีจีดีพีต่อหัวมากที่สุด 10 อันดับแรก 2
ดูเพิ่มเติมที่: รายชื่อประเทศตามค่าจีดีพีต่อหัว
อันดับ (แอฟริกา) | ประเทศ | ค่าจีดีพีต่อหัว ($) ปี 2009 | อันดับ (โลก) |
---|---|---|---|
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() | |||
![]() |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น